วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อย่าชะล่าใจ!! อาการปวดหัว ถ้าเป็นบ่อย อย่าแค่ซื้อยาแก้ปวดมากิน เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่มาของโรคต่อไปนี้

 อย่าชะล่าใจ!! อาการปวดหัว ถ้าเป็นบ่อย อย่าแค่ซื้อยาแก้ปวดมากิน เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่มาของโรคต่อไปนี้


เชื่อว่าใครหลายคนต่างต้องเคยมีอาการแบบนี้อยู่บ่อยๆ นั่งเฉยๆ ก็รู้สึกปวดหัว หัวเราะก็ชักจะปวดหัว ยิ่งต้องทำงานหนัก คิดเยอะ เครียด ก็ยิ่งทำให้ปวดหัวไปกันใหญ่ หรือในบางครั้งต้องเจอกับสภาวะที่กดดันมากๆ ก็ยิ่งปวดหัว ปวดตึ้บๆ ปวดหน่วงๆ เดี๋ยวปวด เดี๋ยวหาย ไม่สม่ำเสมอ บางคนก็แค่ซื้อยาแก้ปวดมากิน แต่รู้หรือไม่ว่านั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคต่างๆได้
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบว่าไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกาย (รวมทั้งสมอง) แต่ทุกครั้งที่กำเริบ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและกลไกทางประสาทภายในสมองและบริเวณใบหน้า กล่าวคือ หลอดเลือดภายในกะโหลกศีรษะหดตัว ในขณะที่หลอดเลือดภายนอกกะโหลกศีรษะ (เช่น ที่ขมับ) พองตัว และประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเจ็บปวด ทำให้มีอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะจำเพาะและอาการต่างๆ ร่วมด้วย  โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นไมเกรนด้วย
     วิธีการรักษา : จะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะ รวมไปถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งการรักษาบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร และเด็ก โดยแพทย์จะหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ป่วย
 ปวดหัวไซนัส (Sinusitis)
     อาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบมีความคล้ายคลึงกับอาการหวัดทั่วไปและอาการปวดหัวไมเกรนมากจนแทบแยกไม่ออก แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไซนัสอยู่แล้วอาจคาดเดาไปก่อนได้ว่า ตัวเองน่าจะมีอาการปวดหัวจากผลกระทบของโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งโดยส่วนมากจะรู้สึกปวดหน่วงๆ บริเวณหน้าผาก ร้อนผ่าวกระบอกตาลามไปถึงโหนกแก้มเลยทีเดียว
     วิธีรักษา : โดยปกติแล้วหากรักษาโรคไซนัสให้หายเป็นปกติได้ อาการปวดหัวก็จะหายไปพร้อมกัน หรือบางรายที่อาการไซนัสไม่รุนแรง ร่างกายจะสามารถรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ
- ปวดหัวชนิดคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
     อาการปวดศีรษะในแต่ละครั้งจะเป็นช่วงเวลาไม่นาน ราว 5 นาที หรือสูงสุด 3 ชั่วโมง แต่จะรู้สึกปวดหัวแบบทรมานเหมือนจะตายเลยทีเดียว และอาการปวดจะเกิดขึ้นบ่อยแต่เป็นเวลาที่แน่นอน และมักจะมีอาการน้ำตาไหลข้างเดียวและมีเส้นเลือดแตกในตา ทำให้เกิดอาการตาแดง
     วิธีรักษา : อาการปวดหัวชนิดคลัสเตอร์สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้โดยใช้ยากลุ่มทริปเทนต์ (Triptan) หรือยารักษาโรคไมเกรน และการสูดดมออกซิเจน ขนาด 10 ลิตรผ่านหน้ากากให้ออกซิเจนก็ได้
     - ปวดหัวในช่วงรอบเดือน (Menstrual headaches)
อาการปวดหัวชนิดนี้สงวนสิทธิ์เพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นอาการปวดศีรษะในช่วงระหว่างมีรอบเดือน จะรู้สึกเหมือนเป็นไข้ทับระดู เป็นหนึ่งสัญญาณของอาการ PMS โดยอาการปวดหัวชนิดนี้จัดว่าเป็นไมเกรนอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดก่อนมีประจำเดือนหรือหลังเป็นประจำเดือนประมาณ 2-3 วัน
     วิธีรักษา : แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มักเกิดอาการ PMS อย่างรุนแรงทุกครั้งที่เป็นประจำเดือนรับประทานแมกนีเซียมเยอะๆ โดยอาจจะเลือกรับประทานแมกนีเซียมจากอาหาร เช่น กล้วย, อะโวคาโด, ถั่ว, เม็ดมะม่วง, โยเกิร์ต, เต้าหู้, ปลาทูน่า เป็นต้น หรือใครจะเลือกกินหาแมกนีเซียมในรูปแบบวิตามินก็ได้เช่นกัน
- ปวดหัวจากฤทธิ์คาเฟอีน (Caffeine headache)
มีอาการปวดหัวตื้อๆ หนักหัวเหมือนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ บางรายอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะเพิ่มด้วยอีกอย่าง หรือไม่ก็รู้สึกปวดกระบอกตาตุบๆ ตลอดเวลา
     วิธีรักษา : นอกจากการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไป อีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ก็คือการลดปริมาณคาเฟอีน นั่นก็หมายความว่าต้องค่อยๆ ลดปริมาณกาแฟในแต่ละวันให้เหลือแค่ 2 แก้วต่อวันเป็นอย่างมาก
     - ปวดหัวเรื้อรัง (Chronic daily headache)
ปวดหัวติดต่อกันมากกว่า 15 วันต่อเดือน และปวดอย่างนี้เรื่อยๆ เกิน 3 เดือน ในบางรายอาจมีอาการไข้และปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่ร่วมด้วย
     วิธีรักษา : เริ่มแรกควรหยุดใช้ยาแก้ปวดที่กินเป็นประจำก่อน จากนั้นอาจรักษาโดยใช้ยาแก้อาการเศร้าซึม ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ เช่น อะทีโนลอล (Atenolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), โพรพาโนลอล (Propanolol) ซึ่งเป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคไมเกรน หรือยาแก้อาการชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin), โทพิราเมต (Topiramate) แม้กระทั่งยาแก้ปวดอย่าง นาโพรเซน (Naproxen) และการทำโบท็อกซ์บรรเทาอาการปวด
     - ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน (Emergency headache)
ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน หน้ามืด และรู้สึกปวดหัวเหมือนหัวจะระเบิด บางรายมีไข้และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากได้รับแรงกระแทกบริเวณศีรษะ รวมทั้งภายหลังเคลื่อนไหวศีรษะเร็วและแรง อีกทั้งยังอาจปวดคอ เกิดอาการชาที่ใบหน้า ลิ้น และปาก จนส่งผลกระทบกับการพูด พร้อมทั้งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
     วิธีรักษา : เมื่อเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรงฉับพลัน วิธีที่ดีที่สุดคือรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยด่วน โดยเฉพาะคนไข้ที่หมดสติไปแล้วด้วย
     - ปวดหัวจากความเครียด (Tension headache)
จะมีความรู้สึกปวดหนักๆ ที่ขมับทั้งสองข้าง เหมือนมีแรงดันจากภายในแต่ไม่ปวดแบบตุบๆ อาจเกิดตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง และมาก หรือบางรายอาจรู้สึกปวดที่ต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย
     วิธีรักษา : ในเบื้องต้นสามารถรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดจำพวกไทลินอล, แอสไพริน และไอบูโพรเฟนได้ หรือจะไปนวดคลายกล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ปริมาณยาแก้ปวดที่จะกินควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรด้วยนะคะ 
     ***อย่าไรก็ตาม เราทุกคนต้องรุ้ว่าร่างกายของตัวเองกำลังมีสภาพเช่นไร ทนไหวไหม ควรสำรวจตัวเองด้วยว่า ตัวเองมีอาการแบบไหน บ่อยไหม เพื่อที่เวลาไปหาหมอจะได้อธิบายได้ถูกต้อง




loading...

Author: